แบบฝึกหัดบทที่ 1-8
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ –สกุล นางสาวอภิชญา นาเ ริง รหัส 57010912606
แบบฝึกหัดบทที่ 1
จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1.ข้อมูล หมายถึง
ตอบ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
2.ข้อมูลปฐมภูมิ คือ
ตอบ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
.ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า - ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 - 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา
3.ข้อมูลทุติยภูมิ คือ
ตอบ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย
ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุโดยรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาในปี 2540 - 2541 เป็นข้อมูลที่บางครั้งอาจถูกแปรรูปไปแล้ว แต่เนื่องจากบางครั้งเราไม่สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิได้เราจึงต้องศึกษาจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว
4.สารสนเทศ หมายถึง
ตอบ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
5.จงอธิบายประเภทของ
ตอบ 1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนาวิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอดทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ
6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียง คือ
ตอบ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
ตอบ เป็นการประมวลผลทางข้อมูลเป็นการนำข้อมูล ที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการ เรียกว่า ข้อมูลสนเทศหรือสารสนเทศ
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น
ตอบ ข้อมูลตติยภูมิ
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น
ตอบ ข้อมูลทุติยภูมิ
แบบฝึกหัดบทที่ 2
1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีให้บริการต่างๆตามหัวข้อต่อไปนี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
ตอบ 1. http://www.sdtc.ac.th/student/content_view.php?no=116
(เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ)
2. http://www.unigang.com/Article/636
(เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป)
3. http://staff.cs.psu.ac.th/Apirada/344-332/1%20ความรู้เบื้องต้นเ.pdf
(เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจ
1.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
ตอบ 1. http://www.pickmeeasy.com/th/hot-topics/exchange.html (เป็นเว็บอัตราแลกเปลี่ยน ประจำวัน)
2. http://www.thunhoon.com/home/ (เป็นเว็บวิเคราะห์หุ้น)
3. http://www.goldtraders.or.th/gold_day.php (เว็บสมาคมค้าทอง)
1.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่่อสารมวลชน
ตอบ 1. http://www.komchadluek.net/index.php (เว็บหนังสื่อพิมพ์คมชัดลึก)
2. http://www.dailynews.co.th/ (เว็บหนังสื่อพิมพ์เดลินิวส์)
3. http://www.thairath.co.th/ (เว็บหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ)
1.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรม
ตอบ 1. http://www.dip.go.th/ (เว็บของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
2. http://teenet.tei.or.th/DatabaseGIS/amatanakorn.html
(เว็บรวบรวมโรงงานต่างๆในอมตะนคร)
3. http://www.industry.go.th/page/index.aspx ( เว็บของกระทรวงอุตสาหกรรม)
1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
ตอบ 1. http://www.samunpri.com/ (เว็บสมุนไพรไทย)
2. http://www.bangkokhospital.com/ (เว็บโรงพยาบาลกรุงเทพ)
3. http://health.kapook.com/ ( เว็บรวบรวมเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ)
1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
ตอบ 1. http://befreshstudio.com/udomsuk/send.php (เว็บแจ้งความออนไลน์)
2. http://www.rpca.ac.th/ ( เว็บโรงเรียนนายร้อยตำรวจ)
3. http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=429
( เว็บที่รวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน)
1.7 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
ตอบ 1. http://www.civilclub.net/ (เว็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับวิศวกรรม)
2. http://www.coe.or.th/e_engineers/coeindex.php ( เว็บสภาวิศวกรรม)
3. http://www.ceat.or.th/2010/index. ( เว็บสมาคมวิศวกรรมปรึกษาแห่งประเทศไทย)
1.8 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
ตอบ 1. http://www.kasetporpeang.com/ ( เว็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรพอเพียง)
2. http://krudaeng.wikispaces.com/
(เว็บรวบรวมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับดิน)
3. http://www.skywaterthai.com/001.html
( เว็บรวบรวมความรู้ต่างๆเกี่ยวกับเรื่องน้ำ)
1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
ตอบ 1. http://www.healthyability.com/new_version5/
( เว็บสร้างเสริมสุขภาพผู้พิการไทย)
2. http://www.ddc.go.th/ (เว็บศูนย์พัฒนาอาชีพผู้พิการ)
3. http://www.blind.or.th/ (เว็บมูลนิธิช่วยคนตาบอลแห่งประเทศไทย)
2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่านมีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. การลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ Internet
2. WiFi
3. โครงการเครือข่ายห้องสมุด
3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
ตอบ 1.การลงทะเบียนเรียนผ่านระบบ Internet ให้ความสะดวกสบายกับเราไม่ต้องเดินไปถึงอาคารราชนครินทร์เพื่อไปติดต่อเรื่องการลงทะเบียนเรียน เพียงแค่เราเข้าเว็บของมหาลัยเราก็สามารถลงทะเบียนเรียนได้แล้ว
2. WiFi ให้ประโยชน์โดยการที่เราสามารถเชื่อมต่อแล้วเข้าไปค้นหางานหรือสิ่งที่เราสนใจสะดวกมากขึ้น
3. โครงการเครือข่ายห้องสมุด ให้ความสะดวกสบายในการหาหนังสือและการยืม – คืน หนังสือ หรือจ้างหนังสือเล่มนั้นๆ
แบบฝึกหัดบทที่ 3
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ตอบ ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ตอบ ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ตอบ ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ตอบ ค. สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
ตอบ ค. 5-4-1-2-3
แบบฝึกหัดบทที่ 4
1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิดแล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1.1 การบันทึกและจัดเก็บบันทึก
ตอบ การสัมภาษณ์,การจดบันทึก,การจัดหาด้วยเครื่งอัตโนมัติ
1.2 การแสดงผล
ตอบ เครื่องพิมพ์,จอภาพ,พลอตเตอร์,ลำโพง
1.3 การประมวลผล
ตอบ การโอนเงิน,การจดตั๋วเครื่อง,การสำรวจค่านิยม Poll
1.4 การสื่อสารและเครือค่าย
ตอบ WIFI , โทรศัพท์ , Internet
2. ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
(7) ซอฟแวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
(4) Information Technology
2. e-Revenue
(1) คอมพิวเตอร์ในยุกต์ประเมินผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
(6) เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย
4. มีองค์ประกอบพื้นฐาน3ส่วน ได้แก่ Sender Medium และ Decoder
(10) ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
(8) ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
(3) การนำเสนอบทเรียนในรูปแบบมัลติมีเดียเพื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในระบบคอมพิวเตอร์
(5) EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภทใด
(9) การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
(2) บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบฝึกหัดบทที่ 5
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
ตอบ การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต การจัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในภายนอกองค์การ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การจัดการสารสนเทศ
2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
ตอบ - ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้าน การดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคลรวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้าน เพื่อใช้ชีวิตอย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข
- ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การ ในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และ กฎหมาย ดังนี้
1. ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ
2. ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพ และ ความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงาน ตามกระแสงานหรือขั้นตอน
3. ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับ กฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การโดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ ทั้งนี้ เนื่องจากการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต้องมีบทลงโทษ
3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุคอะไรบ้าง
ตอบ การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป แบ่งอย่างกว้างได้เป็น 2 ยุค คือ การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ 1. การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
2. การใช้บัตร ATM ในการโอนเงิน-ถอนเงิน
3. การใช้โทรศัพย์บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะโดยภาพ เสียง หรือข้อความ
แบบฝึกหัดบทที่ 6
คำชี้แจง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
ตอบ ระบบการเรียนสอนทางไกล
3. การฝากอนเงินผ่าน ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
ตอบ ระบบอัตโนมัติ
4.ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ ถูกทุกข้อ
5.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
ตอบ การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
6.เครื่องมือทีสำคัญในการจัดสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
ตอบ ถูกทุกข้อ
7.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ เทคโนโลยีทำให้การสร้างพักอาศัยมีคุณภาพ
8.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
ตอบ เครื่องถ่ายเอกสาร
9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
ตอบ ถูกทุกข้อ
แบบฝึกหัดบทที่ 7
คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.หน้าที่ของไฟร์วอลล์(Firewall)คือ
ตอบ เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารระหว่างเขตที่เชื่อถือต่างกัน เช่น อินเตอร์เน็ต (อาจนับเป็นเขตที่เชื่อถือไม่ได้) และ อินทราเน็ต (เขตที่เชื่อถือได้) โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย ระดับโพรโทคอลของระบบเครือข่าย ความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้ไฟล์วอลมีช่องโหว่ อาจนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
2.จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์
ตอบ worm หมายถึง โปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่นๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือชอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป
3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ มี 2 ชนิด ได้แก่ 1. Application viruses
2. System viruses
4.ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัวคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 4.1 องค์กรมีนโยบายการให้ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทุกคนต้องเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ หรืออย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
4.2 มีการกำหนดสิทธิให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้ระบบในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
4.3 องค์กรอาจมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับทางชีวภาพมาใช้ในการควบคุมการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์
4.4 มีการเข้ารหัสข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
4.5 มีระเบียบการปฏิบัติในการควบคุมอย่างชัดแจ้งในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่
ตอบ การที่เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนทำให้เกิด สภาพที่เรียกว่าพื้นที่ไซเบอร์ (Cyberspace) และโลกเสมือนจริง (Virtual World) นั้นมีผลทั้งในด้านดีและด้านเสีย คุณธรรมและจริยธรรมในการทำกิจกรรมต่างๆ บนพื้นที่ไซเบอร์ คือ มาตรการหนึ่งที่จะเป็นปัจจัยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพื่อที่จะให้เกิดการพัฒนาอย่างเหมาะสมและยั่งยืนต่อไปได้แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาบนพื้นที่ไซเบอร์
1. มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และในขณะนี้ทางภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายขยายการใช้อินเทอร์เน็ตไปสู่ สังคมระดับรากหญ้า หากไม่มีการระมัดระวังและเตรียมการที่ดีก็อาจเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมและ กิจกรรมที่ไม่เหมาะสมบนอินเทอร์เน็ตไปสู่รากหญ้าและเยาวชนในชนบท แต่หากมีการเตรียมการที่ดี ตำบลอาจใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการกระจายความเจริญทางเทคโนโลยีและกระจาย องค์ความรู้ใหม่ ๆไปสู่สังคมได้ ดังนั้นหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแล พื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
2. มาตรการทางกฎหมายหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐรวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตาม กฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัว ผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
3. มาตรการทางการ ควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม การที่ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง เพราะการเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน และความน่าเชื่อถือในขอบเขตเรื่องธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และองค์กร เครือ ข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
4. มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัวสถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทาง ไอทีเป็นอย่างดี
5. มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา
6. มาตรการทาง คุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซ เบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควรดังนั้นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี ประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูและระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ รณรงค์ให้ผู้บริหารฯ อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กะทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความลง website webblog เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีเว็บไซต์คุณภาพ ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มี ความรู้ ความเข้าใจในการใช้Internet อย่างถูกต้อง
แบบฝึกหัดบทที่ 8
คำชี้แจง : จงพิจารณากรณีศึกษาต่อไปนี้
1. "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานขอคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง" การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ ผิดเพราะทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนและผิดจริยธรรมมากๆ ทั้งต่อด้านตนเองและสังคม และผิดกฎหมาย ทางด้านการละเมิดลิขสิทธิ์ของนาย A
2. "นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J " การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
ตอบ ไม่ผิดจริยธรรมหรือกฎหมายเพราะ นาย J แค่ต้องการทำเพื่อความสนุกสนานเท่านั้นไม่ได้คิดจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น